[Myanmar Genocide EP.5] – ศาลโลกจะอ่านคำสั่งมาตรการชั่วคราวในคดีแกมเบียฟ้องเมียนมากรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจา วันที่ 23 มกราคม 2020 นี้

เรียกได้ว่า รวดเร็วมาก ๆ กับการดำเนินการในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) รู้จักกันในนาม “ศาลโลก” ในคดี Application of the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide ที่แกมเบียเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเมียนมาที่ศาลโลกครับ

ล่าสุด (15 มกราคม 2020) ที่ผ่านมา ศาลโลกได้ออกประกาศว่า ในวันที่ 23 มกราคม 2020 ที่จะถึงนี้ จะมีการตัดสินในประเด็นเรื่องคำสั่งศาล (Order) ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการชั่วคราว (provisional measures) ซึ่งก็คือ คำสั่งชั่วคราวที่ศาลออกมาระหว่างรอคำตัดสินของศาลเพื่อปกป้องสิทธิของภาคีที่กำลังรอผลคำตัดสินสุดท้ายของศาลครับ

 

1. คำร้องขอ (ตั้งต้น) (11 พฤศจิกายน 2019)

1) ประเทศเมียนมาจะต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงการกระทำต่อกลุ่มโรฮีนจา ทั้งในเรื่องการฆ่า การละเมิดทางกายภาพ การข่มขืน หรือการกระทำทารุณทางเพศอื่น ๆ การเผ่าบ้านหรือหมู่บ้าน การทำลายที่ดินและการปศุสัตว์ อาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นต่อการดำรงชีพ โดยทันที

2) ประเทศเมียนมาจะต้องทำให้มั่นใจว่า ทหารหรือหน่วยงานทหารใด ๆ และองค์กรต่าง ๆ ไม่กระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อกลุ่มโรฮีนจา ซึ่งหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้น

3) ประเทศเมียนมาจะต้องไม่ทำลายหรือจำกัดการเข้าถึงพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งได้ระบุไว้ในคำฟ้อง

4) ประเทศเมียนมาและประเทศแกมเบียจะต้องไม่ดำเนินการใด ๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงที่มีมากขึ้น และ

5) ประเทศเมียนมาและประเทศแกมเบียจะต้องจัดให้มีรายงานไปยังศาลในประเด็นที่ได้ดำเนินการตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวภายใน 4 เดือนหลังจากที่ศาลออกคำสั่ง

 

2. สรุปคำร้องขอทั้งสองฝ่ายจากการจัดให้มีการรับฟัง (public hearing) (10-12 ธันวาคม 2019)

สรุปคำร้องขอของประเทศแกมเบีย

1) ภายใต้อนุสัญญาปกป้องอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประเทศเมียนมาจะต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงการกระทำต่อกลุ่มโรฮีนจา ทั้งในเรื่องการฆ่า การละเมิดทางกายภาพ การข่มขืน หรือการกระทำทารุณทางเพศอื่น ๆ การเผ่าบ้านหรือหมู่บ้าน การทำลายที่ดินและการปศุสัตว์ อาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นต่อการดำรงชีพ โดยทันที

2) ประเทศเมียนมาจะต้องทำให้มั่นใจว่า ทหารหรือหน่วยงานทหารใด ๆ และองค์กรต่าง ๆ ไม่กระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อกลุ่มโรฮีนจา ซึ่งหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้น

3) ประเทศเมียนมาจะต้องไม่ทำลายหรือจำกัดการเข้าถึงพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งได้ระบุไว้ในคำฟ้อง

4) ประเทศเมียนมาและประเทศแกมเบียจะต้องไม่ดำเนินการใด ๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงที่มีมากขึ้น

5) ประเทศเมียนมาและประเทศแกมเบียจะต้องจัดให้มีรายงานไปยังศาลในประเด็นที่ได้ดำเนินการตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวภายใน 4 เดือนหลังจากที่ศาลออกคำสั่ง และ

6) ประเทศเมียนมาจะต้องจัดให้มีการเข้าถึงและประสานงานกับองค์กรหาความจริงของสหประชาชาติในการตรวจสอบเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการกระทำอันเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อกลุ่มโรฮีนจา รวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กลุ่มโรฮีนจาพบเจอ

สรุปคำร้องขอของประเทศเมียนมา

1) ขอให้ศาลถอนคดีออกจากสารบัญคดีของศาลฯ

2) หรืออีกทางหนึ่ง ขอให้ศาลปฏิเสธคำร้องขอการกำหนดมาตรการชั่วคราวซึ่งร้องขอโดยประเทศแกมเบีย

 

3. ทำอะไรดีระหว่างรอ

ระหว่างรอคำสั่งศาลในอีกประมาณ 1 สัปดาห์ข้างหน้า เราลองมาอ่านเนื้อหาย้อนหลังที่เพจเคยลงไว้ดีกว่าครับ มีทั้งหมด 4 ตอน ตามลำดับดังนี้

  • EP.1 แกมเบียฟ้องเมียนมาในประเด็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจาที่ศาลโลก ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2019/11/11/gambia-sues-myanmar-at-icj/
  • EP.2 ทำความรู้จักกับ “หลักกฎหมายระหว่างประเทศ” Universal Jurisdiction ซึ่งทำให้นางอองซานซูจีถูกฟ้องที่ “ศาลภายใน” ของประเทศอาร์เจนตินา (ไม่เกี่ยวกับกระบวนการภายใต้ ICJ) ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2019/11/15/aung-san-universal-jurisdiction/
  • EP.3 ศาลโลกจัดให้มีการรับฟัง (public hearing) เพื่อพิจารณาในประเด็นเรื่องการกำหนด “มาตรการชั่วคราว (provisional measures)” ในกรณีแกมเบียฟ้องเมียนมาที่ศาลโลกระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม นี้ … แล้ว “มาตรการชั่วคราว” คืออะไร??? ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2019/11/18/myanmar-gambia-provisional-measures/
  • EP.4 สรุปประเด็นการรับฟัง (public hearing) ในคดีแกมเบียฟ้องเมียนมาที่ศาลโลกเมื่อวันที่ 10-12 ธันวาคม 2019 ที่ผ่านมาในเรื่องการกำหนดมาตรการชั่วคราว (provisional measures) ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2019/12/13/summary-icj-public-hearing-gambia-myanmar/

 

#provisionalmeasures #genocide #Myanmar #Gambia #ICJ #publichearing #มาตรการชั่วคราว #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #เมียนมา #แกมเบีย #ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ #การรับฟัง

Untitled

13 thoughts on “[Myanmar Genocide EP.5] – ศาลโลกจะอ่านคำสั่งมาตรการชั่วคราวในคดีแกมเบียฟ้องเมียนมากรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจา วันที่ 23 มกราคม 2020 นี้

  1. Pingback: [Myanmar Genocide EP.6] – ศาลโลกอ่านคำสั่งมาตรการชั่วคราวเพื่อปกป้องสิทธิชาวโรฮีนจาในเมียนมา – Thanapat (Bank) Chat

  2. Pingback: [Myanmar Genocide EP.7] – ขั้นตอนภายหลังศาลโลกมีมาตรการชั่วคราวในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจา…ใครทำอะ

  3. Pingback: [Myanmar Genocide EP.8] – ศาลโลกตัดสินตามคำขอของแกมเบียให้ขยายระยะเวลาในการยื่นคำคู่ความในคดีฆ่าล้างเ

  4. Pingback: [Myanmar Genocide EP.9] – แกมเบียยื่นคำร้องขอให้ศาลสหรัฐฯ สั่งให้ Facebook เปิดเผยข้อมูลเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ

  5. Pingback: [ประเด็นน่าสนใจ] – ชัยชนะของพรรค NLD ของนางอองซานซูจีในการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลเมียนมาอี

  6. Pingback: [Myanmar Genocide EP.10] – แกมเบียชนะคดีในศาลสหรัฐฯ กรณีขอให้ Facebook เปิดเผยข้อมูลเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: เมื

  7. Pingback: [Myanmar Genocide EP.10] – แกมเบียชนะคดีในศาลสหรัฐฯ กรณีขอให้ Facebook เปิดเผยข้อมูลเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: เมื

  8. Pingback: [Myanmar Genocide EP.11] – ตัวแทนกลุ่มโรฮีนจาฟ้อง Facebook จำนวนกว่า 5 ล้านล้านบาทจากการไม่ปิดกั้นเนื้อหาสนับสน

  9. Pingback: [Myanmar Genocide EP.12] – ศาลโลกจัดให้มีการรับฟัง (public hearing) เพื่อพิจารณาในประเด็นเรื่องข้อคัดค้านเบื้้องต

  10. Pingback: [Myanmar Genocide EP.12] – ศาลโลกจัดให้มีการรับฟัง (public hearing) เพื่อพิจารณาในประเด็นเรื่องข้อคัดค้านเบื้้องต

  11. Pingback: [Myanmar Genocide EP.13] – สรุปประเด็นการรับฟัง (public hearings) ในคดีแกมเบียฟ้องเมียนมาที่ศาลโลกเมื่อวันที่ 21-28 กุ

  12. Pingback: [Myanmar Genocide EP.14] – ศาลโลกปัดตกข้อคัดค้านเบื้องต้นของเมียนมาและรับคดีแกมเบียฟ้องเมียนมาที่ศาลโล

  13. Pingback: [Myanmar Genocide EP.14] – ศาลโลกปัดตกข้อคัดค้านเบื้องต้นของเมียนมาและรับคดีแกมเบียฟ้องเมียนมาที่ศาลโล

Leave a comment