[ขอแสดงความเสียใจ] – ขอแสดงความเสียใจกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ WHO ถูกยิงเสียชีวิตจากการปฏิบัติภารกิจในเมียนมา และขออนุญาตพาทำความรู้จัก “หลักความคุ้มครองในหน้าที่การงาน” หลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้อำนาจองค์การระหว่างประเทศฟ้องแทนเจ้าหน้าที่ของตัวเอง

ก่อนอื่นเลย แอดมินต้องขออนุญาตกล่าวแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของเจ้าหน้าที่ขององค์อนามัยโลก (World Health Organisation หรือ WHO) ก่อนนะครับที่เจ้าหน้าที่เสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศเมียนมา แอดมินขออนุญาตนำประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศหลักหนึ่งที่ให้อำนาจแก่องค์การระหว่างประเทศสามารถดำเนินคดีแทนเจ้าหน้าที่ของตนเองในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของตนได้รับความเสียหายจนถึงแก่ชีวิต หลักนี้ในกฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลักที่ค่อนข้างคลาสลิกพอสมควรถึงขนาดเคยมีการยื่นขอคำความเห็นเชิงแนะนำ (advisory opinion) จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ภายใต้ “หลักความคุ้มครองในหน้าที่การงาน (functional protection)” กันครับ 1. ข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา พนักงานขับรถขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศเมียนมาถูกยิงเสียชีวิตในขณะขี่จักรยานยนต์อยู่ในเมืองเมาะลำไยซึ่งอยู่ใกล้กับพรมแดนของประเทศไทย โดยสาเหตุของการยิงนั้นยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้น มีข้อมูลว่า การยิงนั้นอาจจะเป็นเหตุมาจากการแก้แค้นและป้องกันผู้ต้องสงสัยในการเปิดเผยข้อมูลท้องถิ่นให้กับรัฐบาลทหารเมียนมา ทั้งนี้ นาย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาแถลงการณ์แสดงความเสียใจและประณามการกระทำความรุนแรงทุกรูปแบบ และหวังว่าจะจัดให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือผู้ที่ชักใยอยู่เบื้องหลังเพื่อนำตัวมารับผิดชอบจากการกระทำดังกล่าว นอกจากนั้น นาย Ramanathan Balakrishnan ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น UN Resident Coordinator and Humanitarian Coordinator ad interim ได้ออกมาแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์สูญเสียที่เกิดขึ้น และร้องขอให้รัฐสมาชิกและผู้ที่มีส่วนได้เสียเคารพความเป็นกลางขององค์การสหประชาชาติและความมีมนุษยธรรม …

Continue reading [ขอแสดงความเสียใจ] – ขอแสดงความเสียใจกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ WHO ถูกยิงเสียชีวิตจากการปฏิบัติภารกิจในเมียนมา และขออนุญาตพาทำความรู้จัก “หลักความคุ้มครองในหน้าที่การงาน” หลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้อำนาจองค์การระหว่างประเทศฟ้องแทนเจ้าหน้าที่ของตัวเอง

[Biden Policy EP.1] – WHO, ความตกลงปารีส, การเข้าเมืองผิดกฎหมาย DACA และสถานะของไต้หวัน: 4 ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศที่น่าสนใจในวันแรกที่ไบเดนเข้าดำรงตำแหน่งปธน.สหรัฐฯ

ภายหลังจากที่โจ ไบเดน สาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 20 มกราคม 2021 ไบเดนได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี (executive order) จำนวนมากถึง 17 คำสั่ง โดยส่วนหนึ่งเป็นคำสั่งที่ย้อนกลับการตัดสินใจของอดีตประธานาบดีโดนัล ทรัมป์ครับ ซึ่งคำสั่งเป็นเรื่องที่หลากหลายมาก ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับการหยุดแผนการถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก การกลับเข้าร่วมสนธิสัญญาด้านสภาพอากาศ การกำหนดให้ประชาชนต้องใส่หน้ากากเป็นเวลา 100 วันเพื่อลดการระบาดของไวรัสโควิด-19 การหยุดการก่อสร้างกำแพงที่บริเวณพรมแดนของเม็กซิโก การยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางเข้าสหรัฐฯ ของกลุ่มคนในประเทศมุสลิม การขยายเวลาการจ่ายหนี้ด้านการศึกษา และอีกหลายเรื่องครับ สำหรับในวันนี้ แอดมินของอนุญาตกล่าวถึงเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่น่าสนใจในวันแรกที่ไบเดนเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทั้งสิ้น 4 ประเด็นก่อนนะครับเผื่อที่จะไม่ให้โพสต์ยาวไป ได้แก่เรื่องการหยุดแผนการถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) การกลับเข้าร่วมความตกลงปารีส โครงการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายแก่คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย (DACA) และความเห็นต่อสถานะของไต้หวันในการเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศ การหยุดแผนการถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ขอย้อนอดีตกันสักเล็กน้อย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2020 อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัล ทรัมป์ ได้แถลงการณ์ที่ทำเนียบขาวว่าจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของความตกลงขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2020 สหรัฐฯ ได้ส่งจดหมายแจ้งต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่ามีความประสงค์จะถอนตัวออกจาก …

Continue reading [Biden Policy EP.1] – WHO, ความตกลงปารีส, การเข้าเมืองผิดกฎหมาย DACA และสถานะของไต้หวัน: 4 ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศที่น่าสนใจในวันแรกที่ไบเดนเข้าดำรงตำแหน่งปธน.สหรัฐฯ

[ประเด็นน่าสนใจ] – องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนโควิด-19 จาก Pfizer/BioNTech ตัวแรกของโลก เน้นการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization หรือ WHO) ได้กำหนดให้วัคซีน CoVID-19 mRNA อยู่ในรายการวัคซีนเพื่อการใช้เร่งด่วน ส่งผลให้วัคซีนจากบริษัท Pfizer/BioNTech เป็นวัคซีนตัวแรกของโลกที่ได้รับการรับรองจาก WHO ครับ คำถามที่ตามมา คือ การรับรองของ WHO ส่งผลอย่างไร? คำตอบในเบื้องต้นจาก Dr Mariângela Simão ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพของ WHO คือ การรับรองของ WHO เปรียบเสมือนการเน้นย้ำให้มีความพยายามในการเพิ่มจำนวนวัคซีนและทำให้วัคซีนดังกล่าวเข้าถึงประชากรของโลก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วน นอกจากนั้น ยังเป็นการยืนยันกลาย ๆ ของ WHO ในการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใชเวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากการที่จะได้รับการรับรองวัคซีน จะต้องมีการทำให้ครบเงื่อนไขและมาตรฐานต่าง ๆ ตามที่ WHO กำหนด ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญจาก WHO จากทั่วโลกยังได้มีการตรวจสอบข้อมูลของทั้งคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีนจากบริษัท …

Continue reading [ประเด็นน่าสนใจ] – องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนโควิด-19 จาก Pfizer/BioNTech ตัวแรกของโลก เน้นการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

[ประเด็นน่าสนใจ] – Trump ประกาศถอนตัวออกจาก WHO อย่างเป็นทางการ

ภายหลังจากเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2020 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้แถลงการณ์ที่ทำเนียบขาวว่าจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกในความตกลงขององค์การอนามัยโลก (WHO) ใครจำไม่ได้ สามารถไปอ่านรายละเอียดย้อนหลังได้ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2020/05/31/trump-withdraws-from-who/ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2020 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ส่งจดหมายไปแจ้งต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่ามีความประสงค์จะถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก โดยจะมีผลเป็นการถอนตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 กรกฎาคม 2021   1. เงื่อนไขในการถอนตัวออกจากความตกลงของ WHO เพื่อที่จะออกจากองค์การอนามัยโลก สหรัฐฯ จะต้องแจ้งเตือนล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปี (เป็นไปตามข้อบทในธรรมนูญก่อตั้ง WHO ซึ่งสหรัฐฯ ได้เข้าเป็นสมาชิกในปี 1948) โดยรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วม (joint resolution) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1948 กำหนดให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องยอมรับการเป็นสมาชิกของ WHO และจะต้องไม่ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก เว้นแต่ จะมีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี และจ่ายเงินให้แก่ WHO …

Continue reading [ประเด็นน่าสนใจ] – Trump ประกาศถอนตัวออกจาก WHO อย่างเป็นทางการ

[ประเด็นน่าสนใจ] – Trump ประกาศจะถอนตัวจาก WHO?

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัล ทรัมป์ ได้ประกาศในแถลงการณ์ที่ทำเนียบขาวว่า จะถอนตัวออกจากความตกลงขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเขากล่าวว่า จะยุติความสัมพันธ์กับ WHO พร้อมทั้งนำงบประมาณดังกล่าวไปจัดสรรให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยไม่ผ่าน WHO อีกต่อไป เมื่อข่าวนี้ประกาศออกมาในรูปของแถลงการณ์ รวมทั้งผ่านทางช่องทางโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ของประธานาธิบดีทรัมป์จึงเกิดคำถามตามมาอีกมากมายว่า ทรัมป์มีอำนาจทำได้หรือไม่? และการจะถอนตัวจากความตกลงระหว่างประเทศทำได้ง่าย ๆ โดยการพูดผ่านสื่อเท่านี้เองจริงหรือ? วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร และหากต้องการจะถอนตัวออกจาก WHO สหรัฐฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร แอดมินพยายามติดตามข้อมูลหลายช่องทางเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น จนไปเจอบทความฉบับหนึ่งเขียนไว้น่าสนใจมาก เป็นบทความเกี่ยวกับการถอนตัวของสหรัฐฯ จาก WHO โดยศาสตราจารย์ Harold Hongju Koh จากมหาวิทยาลัยเยลเขียนไว้น่าสนใจมาก จึงจะนำบทวิเคราะห์บางส่วนมาลงในโพสนี้ ใครที่สนใจบทความฉบับเต็มสามารถไปอ่านได้ที่ https://www.justsecurity.org/70493/trumps-empty-withdrawal-from-the-world-health-organization/ 1. ความเป็นมาของเรื่อง อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา ทรัมป์ได้มีการแถลงการณ์ที่ทำเนียบขาวว่าจะยุติความสัมพันธ์กับ WHO …

Continue reading [ประเด็นน่าสนใจ] – Trump ประกาศจะถอนตัวจาก WHO?

[COVID-19] – การประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเชื้อไวรัส COVID-19

วันนี้ (14 เมษายน 2020) มีการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเชื้อไวรัส COVID-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายเหวียน ชวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามและประธานอาเซียนเป็นประธานในการประชุม มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประชุมและเนื้อหาของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้ 1. การประชุมสุดยอดอาเซียนคืออะไร โดยปกติแล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) มาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการประชุมประจำปี จัดขึ้นเป็นประจำโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหารือกันภายใต้หัวข้อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมและความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับประเทศสมาชิกของอาเซียน ประกอบด้วยบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย อย่างไรก็ดี หลายครั้ง ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการประชุมร่วมกับประเทศคู่เจรจา (ASEAN Dialogue Partners) เช่น กลุ่ม ASEAN+3 โดยเพิ่มเติมจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก ด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน …

Continue reading [COVID-19] – การประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเชื้อไวรัส COVID-19

[น่าสนใจ] – รู้จักกับการประชุมวาระพิเศษ G20 ออนไลน์ของผู้นำระดับโลกในประเด็นเรื่อง Covid-19

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมวาระพิเศษของกลุ่ม G20 ในประเด็นเรื่องความรับผิดชอบของผู้นำกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 โดยเป็นการประชุมแบบออนไลน์ร่วมกันระหว่างผู้นำของกลุ่ม G20 ร่วมกับสเปน จอร์แดน สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ กลุ่มองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ (UN) กลุ่มธนาคารโลก (WBG) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การการค้าโลก (WTO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คณะกรรมการความมั่นคงทางการเงิน (FSB) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) นอกจากนั้นยังมีกลุ่มระดับภูมิภาคอย่างอาเซียน (เวียดนามเป็นผู้แทนในฐานะประธานอาเซียน) สหภาพแอฟริกา (AU) (ผู้แทนโดยแอฟริกาใต้) กลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) (ผู้แทนโดย UAE) และกลุ่มหุ้นส่วนใหม่สำหรับการพัฒนาแอฟริกา (NEPAD) (ผู้แทนโดยรวันดา)   1. กลุ่ม G20 คือใคร กลุ่ม G20 ย่อมาจาก Group …

Continue reading [น่าสนใจ] – รู้จักกับการประชุมวาระพิเศษ G20 ออนไลน์ของผู้นำระดับโลกในประเด็นเรื่อง Covid-19

[Coronavirus] – การระบาดของโคโรนาไวรัสกับกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก

อย่างที่ทราบกันดีว่า หลังจากการรายงานครั้งแรกของการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (coronavirus หรือ 2019-nCoV) ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2019 การระบาดของโคโรนาไวรัสได้เริ่มขยายวงกว้างไปในหลายประเทศ และเริ่มมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงตลอดเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมา เราจะได้เห็นบทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดการเกี่ยวกับปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงบทบาทที่สำคัญขององค์การระหว่างประเทศอย่างองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) อีกด้วย ซึ่งล่าสุดนายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก และทีมงาน ได้เดินทางไปหารือกับรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของสาธารณสุขของจีน จนในที่สุด เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศแล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่า การที่ผู้แทนระดับสูงขององค์การอนามัยโลกจะเดินทางเข้าไปยังประเทศจีนเพื่อหารือ และดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ว่า อยู่ ๆ ก็สถาปนาตนเองและสามารถดำเนินการทำทุกอย่างได้ ในความเป็นจริงแล้ว มีประเด็นความร่วมมือและกฎหมายระหว่างประเทศอยู่เบื้องหลังอยู่พอสมควร ดังนั้น วันนี้ แอดมินขอพาทุกคนทำความรู้จักกับองค์กรนี้ …

Continue reading [Coronavirus] – การระบาดของโคโรนาไวรัสกับกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก