[ประเด็นน่าสนใจ] –สหราชอาณาจักรร้องขอให้จีนสละสิทธิความคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่กงสุลจีน 6 คนเพื่อสอบสวนเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายกลุ่มผู้ประท้วงที่แมนเชสเตอร์: ทำไมสหราชอาณาจักรต้องขอ? ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มกันของเจ้าหน้าที่กงสุล

กลับมาอีกครั้งกับประเด็นเรื่องความคุ้มกันของเจ้าหน้าที่กงสุลครับ รอบนี้เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่กงสุลจีนต้องสงสัยว่าทำร้ายผู้ประท้วงที่สนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงครับ เหตุการณ์รอบนี้เกิดขึ้นที่เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศหลายประเด็นให้น่าติดตามกัน มีรายละเอียดดังนี้ ข้อเท็จจริงโดยสรุป เมื่อประมาณวันที่ 16 ตุลาคม 2565 มีการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ประจำปีที่ประเทศจีน อย่างไรก็ดี ในวันเดียวกัน มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยฮ่องกงที่บริเวณด้านนอกของสถานกงสุลจีนประจำเมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ทั้งนี้ มีภาพเหตุการณ์ว่า มีผู้ประท้วงรายหนึ่งถูกดึงตัวเข้าไปภายในสถานกงสุลแมนเชสเตอร์ และถูกบุคคลในสถานกงสุลรุมทำร้ายด้วยการเตะและต่อย ต่อมา ในการประชุมของรัฐสภาสหราชอาณาจักร มีการกล่าวหากงสุลใหญ่ประจำเมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักรให้ออกมารับผิดชอบ แต่อย่างไรก็ตาม กงสุลใหญ่ได้ออกมาอธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้ว กลุ่มผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าไปในสถานกงสุล ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลจำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อป้องกันผู้บุกรุก รวมถึงปกป้องผู้ที่เหยียดหยามผู้นำและประเทศจีนด้วย ทั้งนี้ โฆษกสถานทูตจีนในกรุงลอนดอนยังได้แถลงว่า การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดพลาดของสหราชอาณาจักรที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามละเมิดสถานกงสุลและบุคคลของสถานกงสุลด้วย อย่างไรก็ดี กงสุลใหญ่คนดังกล่าวได้ถูกปลดจากตำแหน่งในภายหลัง และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรขอให้ทางการจีนสละสิทธิความคุ้มกันแก่บุคคลของสถานกงสุลจำนวน 6 คนเพื่อทำการสอบสวน แต่อย่างไรก็ดตาม จีนปฏิเสธที่จะสละความคุ้มกัน และได้ให้เจ้าหน้าที่ของตนทั้ง 6 คนเดินทางออกจากสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 2.1 ข้อกล่าวอ้างของจีนที่ว่า สหราชอาณาจักรไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามละเมิดสถานกงสุลและบุคคลของสถานกงสุลฟังขึ้นหรือไม่? ประเด็นเรื่องการละเมิดไม่ได้ของสถานกงสุลนั้นเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ค.ศ. 1963 (Vienna …

Continue reading [ประเด็นน่าสนใจ] –สหราชอาณาจักรร้องขอให้จีนสละสิทธิความคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่กงสุลจีน 6 คนเพื่อสอบสวนเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายกลุ่มผู้ประท้วงที่แมนเชสเตอร์: ทำไมสหราชอาณาจักรต้องขอ? ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มกันของเจ้าหน้าที่กงสุล

[ประเด็นน่าสนใจ] – ศาลฎีกาอังกฤษตัดสินว่า การจ้างงานในลักษณะของการบังคับใช้แรงงานโดยตัวแทนทางทูตจะไม่ได้รับความคุ้มกันทางทูตจากเขตอำนาจทางการศาล

วันนี้แอดมินขออนุญาตกล่าวถึงประเด็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่อาจจะขยับไกลออกจากประเทศไทยสักหน่อย แต่เป็นประเด็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศที่น่าสนใจครับเกี่ยวกับกรณีของการปรับใช้ข้อยกเว้นของหลักความคุ้มกันทางทูตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตครับ ข้อเท็จจริงโดยสรุป เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2022 ศาลฎีกาของสหราชอาณาจักรได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีที่น่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานต่อไปในกฎหมายระหว่างประเทศได้เลยทีเดียว ตามข้อเท็จจริง นาง Josephine Wong (มีสัญชาติฟิลิปปินส์) เป็นคนทำงานต่างด้าวในบ้านของนาย Khalid Basfar ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทางทูตของคณะผู้แทนซาอุดิอาระเบียในสหราชอาณาจักร นาง Wong อ้างว่า เธอตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ของนาย Basfar และครอบครัวของเขา โดยการถูกบังคับใช้ทำงานในลักษณะการค้าทาสสมัยใหม่ (modern slavery) เธอจึงนำข้อเรียกร้องดังกล่าวไปดำเนินคดีทางกฎหมายแรงงานเพื่อเรียกค่าแรงและการละเมิดสิทธิการจ้างแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม นาย Basfar อ้างว่าข้อเรียกร้องของนาง Wong ฟังไม่ขึ้นเนื่องจากนาย Basfar มีความคุ้มกันทางทูตเนื่องจากเขาเป็นผู้แทนทางทูต เมื่อพิจารณาในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต 1961 (VCDR 1961) ตัวแทนทางทูตย่อมได้รับความคุ้มกันจากเขตอำนาจทางอาญาของรัฐผู้รับ และยังได้รับความคุ้มกันทั่วไปจากเขตอำนาจทางแพ่งด้วย อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นว่า หากการกระทำดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นการกิจกรรมทางวิชาชีพหรือทางพาณิชย์ซึ่งตัวแทนทางทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากหน้าที่การงานของตน (ข้อ 31 VCDR) ดังนั้น คำถามจึงมีว่า การใช้แรงงานในลักษณะดังกล่าวนั้นถือเป็นกิจกรรมทางพาณิชย์ภายใต้ข้อยกเว้นนี้หรือไม่ ศาลฎีกาของสหราชอาณาจักรได้วิเคราะห์ประกอบคำพิพากษาในคดี Al-Malki v Reyes …

Continue reading [ประเด็นน่าสนใจ] – ศาลฎีกาอังกฤษตัดสินว่า การจ้างงานในลักษณะของการบังคับใช้แรงงานโดยตัวแทนทางทูตจะไม่ได้รับความคุ้มกันทางทูตจากเขตอำนาจทางการศาล

[ประเด็นน่าสนใจ] – ว้าวซ่า!!! อังกฤษสมัครเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP

รายงานข่าวของเว็บไซต์ BBC เปิดเผยว่า สหราชอาณาจักรกำลังจะยื่นความประสงค์สมัครเข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) มีประเด็นที่น่าสนใจมาก พอจะสรุปได้ดังนี้ ความตกลง CPTPP คืออะไร ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership หรือ CPTPP) คือความตกลงทางการค้าระหว่าง 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งความตกลงนี้ได้พัฒนามาจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกเดิม (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ซึ่งในอดีตความตกลง TPP มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศในเฉพาะกลุ่ม ทั้งในเรื่องการยกเลิกภาษีนำเข้าและมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ พัฒนาห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมประเด็นที่คาบเกี่ยวทั้งด้านกฎระเบียบ การแข่งขัน การส่งเสริม SMEs การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และอีกหลายประเด็น ซึ่งในช่วงปี 2009 สหรัฐฯ …

Continue reading [ประเด็นน่าสนใจ] – ว้าวซ่า!!! อังกฤษสมัครเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP

[มีเรื่องมาเล่า] – ตำแหน่ง student representative ที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ

วันนี้แอดมินมีเรื่องมาเล่าให้ฟังสบาย ๆ ไม่วิชาการมากครับ ก่อนอื่นเลยต้องออกตัวก่อนว่า ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้สามารถใช้ได้กับทุกมหาวิทยาลัยหรือไม่ แต่มหาวิทยาลัยที่แอดมินกำลังศึกษาอยู่เป็นแบบนี้ครับ เรื่องของเรื่องคือว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ แอดมินได้รับเลือกให้เป็น PGR student representative สาขากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักรที่แอดมินกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่ ตำแหน่งนี้ อารมณ์เหมือนผู้แทนนักศึกษาของนักศึกษาปริญญาโทแบบวิจัยและปริญญาเอกด้านกฎหมายทั้งหมดของทั้งภาควิชา ทุกชั้นปีครับ ตอนก่อนรับหน้าที่นี้ แอดมินก็ศึกษาข้อมูลคร่าว ๆ ว่ามีหน้าที่อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้จัดสรรเวลาและไม่กระทบกับการเรียนของแอดมินด้วย พออ่านขอบเขตงานคร่าว ๆ ก็เหมือนเป็นงานเชิงเป็นตัวกลาง รับฟังปัญหาของเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันทุกชั้นปีครับ แล้วก็มาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กลางของมหาวิทยาลัย รวมถึงอาจมีการช่วยจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยบ้างประมาณนั้น เมื่อประมาณสัปดาห์ที่แล้ว แอดมินได้รับแจ้งว่า อีกหนึ่งสัปดาห์จะมีการประชุม (ซึ่งก็คือเมื่อวานนี้) แอดมินก็ได้ทำการรวบรวมคำถามและปัญหาจากเพื่อน ๆ ที่เรียน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ระบาดแบบนี้ คนมีปัญหากันเยอะมาก พอเมื่อวานนี้มีการประชุม ซึ่งที่ประชุมแจ้งว่า จะประชุม 2 ชั่วโมง แอดมินก็เตรียมสมุดจด เตรียมจดอย่างเดียว เพราะเข้าใจว่าคงเหมือนนั่งฟังบรรยายข้อมูลจากส่วนกลาง แล้วเราไปกระจายให้กับเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันในสาขา …

Continue reading [มีเรื่องมาเล่า] – ตำแหน่ง student representative ที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ

[Brexit EP.1] – สหราชอาณาจักรถอนตัวจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ และ Timeline สำคัญ

วันนี้ (31 มกราคม 2020) เป็นวันแรกที่สหราชอาณาจักรจะถอนตัวอย่างเป็นทางการจากสหภาพยุโรปในเวลาเที่ยงคืนตามเวลายุโรปกลาง (Central European Time หรือ CET) ซึ่งเทียบเป็นเวลา 5 ทุ่มในสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องการถอนตัวของสหราชอาณาจักรนั้นมีมิติที่สำคัญหลายด้านมาก ทั้งต่อภายในสหราชอาณาจักร หรือต่อประเทศในสหภาพยุโรปเอง หรือแม้แต่ต่อประเทศอื่น ๆ รวมถึงด้านกฎหมายระหว่างประเทศด้วย แต่อย่างไรก็ตาม แอดมินจะทยอยเขียนเนื่องจากหลายประเด็นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกันกับสหภาพยุโรป ดังนั้น ในโพสต์นี้ แอดมินขอกล่าวถึงความเป็นมาของเหตุการณ์ ประเด็นข้อกฎหมายกับการถอนตัว และ Timeline เหตุการณ์สำคัญจนกระทั่งนำไปสู่การถอนตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม 2020 ครับ ทั้งนี้ ในเรื่องของผลกระทบของ Brexit นั้นมีหลายด้านมาก ๆ ขออนุญาตติดไว้ก่อนและจะอธิบายให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ 1. Brexit และสหภาพยุโรปคืออะไร Brexit มาจากการรวมคำสองคำ คือ คำว่า “Br”itain และ “exit” ซึ่งหมายถึงการที่สหราชอาณาจักรวางแผนจะออกหรือถอนตัวออกจากข้อตกลงการเป็นรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปนั่นเอง ส่วนสหภาพยุโรป (European Union) คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเมือง …

Continue reading [Brexit EP.1] – สหราชอาณาจักรถอนตัวจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ และ Timeline สำคัญ

[US/Iran Conflict EP.3] – การกักตัวทูตสหราชอาณาจักรประจำอิหร่านกับประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ

ภายหลังจากถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2020 ซึ่งดูเหมือนจะลดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านลงไป หากใครไม่ได้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นความขัดแย้ง สามารถไปอ่านย้อนหลังได้ที่ EP.1 สหรัฐสังหารผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านกับประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2020/01/03/us-kills-soleimani/ และ EP.2 ถอดประเด็นข้อกฎหมายระหว่างประเทศจากถ้อยแถลงของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาหลังจากอิหร่านยิงขีปนาวุธโต้ตอบเหตุการณ์สังหารผู้บัญชาหน่วยรบพิเศษคุดส์ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ที่ https://thanapatofficial.wordpress.com/2020/01/08/trump-remarks-on-iran/ จากนั้น ในช่วงเช้าของวันที่ 11 มกราคม 2020 ทางการของอิหร่านได้ออกมาประกาศยอมรับว่าเป็นผู้ยิงเครื่องบินโดยสารของยูเครนตกโดยไม่เจตนา ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 176 คน เนื่องมาจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ (human error) [1] หลังจากนั้นไม่นาน ได้เกิดการรวมตัวกันประท้วงที่บริเวณมหาวิทยาลัย Amir Kabir ในกรุงเตหะราน เพื่อประท้วงรัฐบาลต่อเหตุการณ์ดังกล่าว [2]   1. ทำไมเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำอิหร่านถึงถูกกักตัว ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อเอกอัครราชทูตร็อบ มาแคร์ (Rob Macaire) เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำอิหร่านถูกกักตัวจากทางการของอิหร่านเนื่องจากต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมกับการประท้วงดังกล่าวด้วย [3] ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตมาแคร์ถูกปล่อยตัวหลังจากถูกควบคุมตัวประมาณครึ่งชั่วโมง [4] …

Continue reading [US/Iran Conflict EP.3] – การกักตัวทูตสหราชอาณาจักรประจำอิหร่านกับประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ

[กฎหมายระหว่างประเทศกับการถอนตัวของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรป] – ข้อตกลงถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ผ่านแล้ว

เนื่องจากวันนี้ (25 พฤศจิกายน 2018) มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบโดยตรงกับสหราชอาณาจักร นั่นก็คือ ผู้นำสหภาพยุโรปทั้ง 27 ชาติ เห็นร่วมกันกับการถอนตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปแล้ว วันนี้ 25 พฤศจิกายน 2018 ในการประชุมพิเศษของคณะมนตรียุโรป ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.consilium.europa.eu/…/european-coun…/2018/11/25/) ดังนั้น วันนี้ แอดมินจึงอยากมาย้อนภาพรวมทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่ได้ยินอยู่ผ่าน ๆ ทราบว่า Brexit คืออะไร และส่งผลอย่างไรบ้าง รวมถึงจะเกิดอะไรขึ้นบ้างต่อไป ลองมาดูกันครับ ปล. เนื้อหาค่อนข้างยาว แต่พยายามสรุปมาให้แล้วครับ 1. Brexit คืออะไร Brexit มาจากการรวมคำสองคำ คือ คำว่า “Br”itain และ “exit” ซึ่งหมายถึงการที่สหราชอาณาจักรวางแผนจะออกหรือถอนตัวออกจากข้อตกลงการเป็นรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปนั่นเอง 2. ทำไมสหราชอาณาจักรถึงวางแผนจะออกจากสหภาพยุโรป สำหรับประเด็นนี้ เป็นประเด็นค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก ๆ แต่ถ้าจะให้พูดไปแล้วนั้น ต้องย้อนกลับไปในวันที่ 23 มิถุนายน 2016 …

Continue reading [กฎหมายระหว่างประเทศกับการถอนตัวของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรป] – ข้อตกลงถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ผ่านแล้ว